หนีคดีนาน 17 ปี หัวหน้า รปภ.หื่น ลวงสาวดูห้องตัวอย่าง ก่อนบังคับขืนใจ จนมุมแล้ว คุมตัวดำเนินคดี ยังให้การแบ่งรับแบ่งสู้ หัวหน้า รปภ.หื่น ลวงสาวดูห้องตัวอย่าง ก่อนบังคับขืนใจ ล่าสุด (12 ม.ค.65) ถูกเจ้าหน้าที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) รวบตัวแล้ว หลังหนีคดีนาน 17 ปี
ทราบชื่อ นายวงศกร (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี
ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรีที่ 1661/2548 ลงวันที่ 27 ส.ค.2548 โดยมาจนมุมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กทม. สำหรับคดีของ รปภ.หื่นรายนี้ ต้องย้อนไปคืนวันที่ 14 พ.ค.2548 ขณะนั้น นายวงศกร ยังเป็นหัวหน้า รปภ. อยู่ที่หอพักแห่งหนึ่งในอ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยได้รู้จักและคุ้นเคยกับ น.ส.เอ (นามสมมติ) ผู้เสียหาย ซึ่งกำลังจะหาห้องพักใหม่ ผู้ต้องหาจึงแนะนำให้มาดูห้องตัวอย่างในหอพักที่ตัวเองดูแลอยู่
เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ เดินขึ้นไปบนห้องชั้น 2 รปภ.หื่น รีบล็อกประตูแล้วตรงเข้าใช้กำลังบังคับข่มขืนน.ส.เอ จนสำเร็จความใคร่ ก่อนจะหลบหนีไป อย่างไรก็ตามหลังการติดตามและรวบรวมหลักฐาน เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม สืบสวนทราบว่า ปัจจุบัน นายวงศกร ได้หลบหนีมาทำงานอยู่ในเขตมีนบุรี จึงเข้าตรวจสอบและเข้าจับกุมได้ในที่สุด
จากการสอบสวนผู้ต้องหา ให้การภาคเสธ โดยยอมรับว่ารู้จักกับผู้เสียหายจริง แต่ตนไม่ได้ข่มขืน จึงนำตัวส่งสภ.คลองหลวง ดำเนินคดีต่อไป โดยข้อหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี ได้แก่ “ข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย”
ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางรายแสดงความคิดเห็นว่า “หดหู่มากกับข่าวนี้ แปลกใจที่น้องยิงตัวเอง ไม่ยิงคนที่เข้าไปเปิดตู้เย็น เพราะน้องฆ่าแม่ได้ขนาดนั้น ก็ไม่ปกติแล้ว คนที่เข้าไปในบ้านตอนนั้นก็น่าจะโดนทำร้ายด้วย” นอกจากนี้ที่มีกระแสข่าวว่าบุตรชายเป็นโรคซึมเศร้า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการลงมือดังกล่าว เรื่องนี้มีผู้ออกมาโต้แย้งว่า โรคซึมเศร้าไม่ได้มีอาการของโรคที่ทำร้ายคนอื่นได้ ส่วนใหญ่มีแต่ทำร้ายตัวเอง อีกทั้งโรคทางจิตเวชมีหลายชนิด อย่าตีขลุมว่าโรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุไปเสียหมด
**ทั้งนี้ ทั้งหมดเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นของผู้เสพข่าว โปรดใช้วิจารญาณในการอ่าน ต้องรอผลตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์และการรวบรวมพยานหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียก่อนจึงจะสรุปเหตุการณ์ที่แท้จริงได้**
นายแบงค์ รับสารภาพว่า ยาเสพติดล็อตนี้ได้รับการว่าจ้างจาก น.ส.เบล แก๊งยาเสพติด ย่านบางบัวทอง ให้ตนเป็นผู้เก็บรักษาไว้ทั้งหมด ก่อนจะนำไปส่งให้ลูกค้าตามคำสั่งของน.ส.เบล เป็นครั้งๆ ไป ได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 30,000 บาทต่อเดือน โดยทำมานานกว่า 3-4 เดือนแล้ว
ป.ป.ส. ยืนยัน ‘กัญชา’ ยังผิดกฎหมาย หากปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาต
ป.ป.ส. ได้ออกมายืนยันถึงการดำเนินการปลูก กัญชา ว่ายังคงถือว่ามีความผิด โดยจะต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะทำการปลูกด้วยตนเองได้ (11 ม.ค. 2565) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ทำการประกาศยืนยันแล้วว่าการดำเนินการปลูก กัญชา ด้วยตนเองนั้น ยังถือว่าอยู่ในข่ายผิดกฎหมาย – ผิดกฎหมาย โดยการดำเนินการปลูกนั้น จะต้องได้รับการอนุญาตรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (รองเลขาธิการ ป.ป.ส.) ในฐานะโฆษก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้เปิดเผยถึงกรณีการถูกจับกุมจากการปลูกกัญชา รวมถึงข้อสงสัยว่ากัญชาสามารถปลูกได้อย่างเสรีแล้วหรือยัง หลังจากประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ซึ่งในหมวดประเภทของยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ไม่มีชื่อกัญชาอยู่ในยาเสพติดประเภท 5 โดยระบุว่า “ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชฝิ่น”
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร กล่าวว่า แม้ว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ จะไม่มีชื่อกัญชาอยู่ในยาเสพติดประเภท 5 แต่ประมวลกฎหมายยาเสพติดฯใหม่นั้น ได้ประกาศไว้ถึงการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษว่า ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใด ให้เป็นไปตามกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ส. ประกาศกำหนด ซึ่งจากเรื่องดังกล่าว กัญชา ยังคงอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภท 5 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ ยกเว้นวัตถุหรือสาร เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ เช่น เปลือก เส้นใย ใบที่ไม่มีช่อดอกติดมา สารสกัด CBD ที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
ดังนั้น การปลูกกัญชาเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดประเภท 5 โดยแม้ว่าจะปลดล็อกในบางส่วนของพืชกัญชาเช่น เปลือก เส้นใย ใบ รวมถึง สาร CBD แต่มีข้อแม้ว่าส่วนประกอบดังกล่าวต้องมีที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
โดยผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 93 ของประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถ้าเป็นการกระทำเพื่อการค้า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท
ทั้งนี้ การขออนุญาตปลูกกัญชา สามารถทำได้ โดยต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ สถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร และร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ หรือ อย. และต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป